ชุมชนคลองเตย

ชุมชนคลองเตย ชุมชนแออัดขนาดใหญ่ สู่การลุ้นหวยไทยงวดถัดไป

เสียงตะเบ็งเซ็งแซ่ เสียงไซเรนของรถดับเพลิงดังก้องทั่วพื้นที่ปากน้ำพระประแดงโบราณ เจ้าหน้าที่เร่งฉีดน้ำดับเปลวเพลิงที่กำลังลุกไหม้บ้านไม้ 2 ชั้นและบ้านใกล้เรือเคียง 4-5 หลัง สวนกับชาวชุมชนคลองเตยที่วิ่งเอาชีวิตรอดจากเปลวเพลิง สร้างความตื่นตระหนกและความโกลาหลให้คนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ขณะนั้นเวลา 18.37 น. ของวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 สื่อหลายสำนักทำข่าวเหตุเพลิงไหม้ชุมชนคลองเตย ล็อค 1 2 3  ซอย 5 หลังโรงน้ำแข็ง ถนนอาจณรงค์ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ  ทราบเหตุมีผู้บาดเจ็บจากการถูกไฟลวกและถูกไฟฟ้าช๊อต 3 ราย แม้วันนี้จะยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้อย่างแท้จริง แต่แอดอยากจะพาทุกท่านมาทำความรู้จัก ชุมชนแออัด หรือสลัมขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

จากอดีต-ปัจจุบัน

ภาพบ้านไม้อัด มุงหลังคาสังกะสีผสมกับบ้านปูนหลังและกว่าหมื่นหลังคาเรือนบนพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นภาพคุ้นชินที่หลาย ๆ คน คงเห็นผ่านตาเมื่อนั่งรถผ่านบริเวณถนนพระราม 4 ซึ่งได้ชื่อว่า สลัมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ย้อนกลับเมื่อปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นธงนำทางในการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยให้ความสำคัญการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การคมนาคม สาธารณูปโภค เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ และเพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจได้ ปากน้ำพระประแดงขณะนั้นได้ถูกพัฒนาให้เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่ในการขนส่งสินค้าในภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่แห่งการสร้างโอกาส ดึงดูดประชากรภาคแรงงานจำนวนมากให้เข้ามาอยู่อาศัย โดยเฉพาะคนที่ที่ได้รับผลกระทบจากล่มสลายของภาคการเกษตร ในขณะนั้นรัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุน ผู้คนมากมายหลั่งใหลเข้าทำงานในพื้นที่แห่งนี้พร้อมกับความหวัง หลายคนเลือกมาตั้งรกรากในป่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา แทนการไปหาห้องเช่าราคาแพง ถึงแม้จะเป็นการบุกรุกพื้นที่ก็ตาม จากชาวบ้านสิบคนเป็นร้อย จากร้อยเป็นพัน จนกระทั่งปัจจุบันชุมชนคลองเตยแห่งนี้รองรับผู้คนกว่าหมื่นชีวิต    พวกเขาเหล่านี้ถือเป็นฐานทางเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครและช่วยให้ชั้นกลางยังคงดำรงอยู่ได้ด้วยสินค้าราคาถูก ไม่ว่าจะเป็นร้านรถเข็นขายอาหารริมทาง พนักงานรับจ้างรายวัน พนักงานทำความสะอาด และอาชีพที่ใช้แรงงาน อื่น ๆ

วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงในชุมชน

ยุคหนึ่ง – ตั้งถิ่นฐาน ช่วยตัวเอง

  • พ.ศ. 2500  – 2511  ชาวบ้านย้ายเข้ามารวมกันเป็นชุมชนใหญ่ จากการถูกไล่รื้อบริเวณต่าง ๆ  เช่น บริเวณที่เคยถูกไฟไหม้สลัมสวนมะลิและสะพานเหลือ ตลาดคลองเตย  โรงงานฆ่าสัตว์(โรงหมู)   และจากการไล่ที่สร้างท่าเรือด้านตะวันออก  บริเวณปากคลองพระโขนง   คนอพยพเข้าสร้างถิ่นฐานแต่รัฐไม่รับรอง  จึงเป็นชุมชนบุกรุก มีปัญหาเสื่อมโทรม ไม่มีการเลือกตั้งทุกชนิด ไม่รู้จักการเมือง เกิดผู้นำธรรมชาติ  ช่วยตัวเองตัวเอง  ขาวบ้านก่อตั้ง “โรงเรียนวันละบาท” (เริ่มตั้งปี  2511) เป็นศูนย์รวมพัฒนา

ยุค 2  (2513-2524) เข้าสู่การพัฒนา

  • ปี 2511 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาลัยธรรมศาสตร์ ได้สำรวจชุมชน  เป็นการเปิดโลกสลัมคลองเตย คนภายนอกริ่มเข้ามาในชุมชน เกิดกิจกรรมพัฒนา
  • ปี 2515 การท่าเรือไล่ที่ครั้งใหญ่  ชาวบ้านคลองเตยได้มีส่วนร่วมและรับผลกระทบจากเหตุการณ์ 14 ต.ค 16  และ 6 ต.ค 19  ช่วงนี้มีการพัฒนาพื้นที่ครั้งใหญ่  ได้แก่ ไล่ที่สร้างทางด่วน  สร้างแฟลต การเคหะปรับปรุง ให้ทะเบียนบ้านชั่วคราว กทม. ตั้งโรงเรียนในชุมชน
  • การรวมกลุ่มของชุมชน ขยายตัวปี 2525  จัดตั้งกรรมการชุมชน สมาพันธ์ชุมชนแออัดคลองเตย  ตั้งองค์กรพัฒนาในพื้นที่  คือมูลนิธิดวงประทีป มูลนิธิรวมน้ำใจ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคคล เป็นพลังสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ  
  • ปี 2525 การท่าเรื่องไล่ที่ใหญ่อีกครั้ง

ยุค 3 (2525-2534)  กระแสพัฒนาขึ้นสูง จัดตั้งชุมชนใหม่

  • ผู้บริหารประเทศและองค์กรต่าง ๆ ลงหาชุมชน การต่อสู้ของชาวบ้านชนะ ท่าเรื่อให้เช่าที่ 20 ปี  การเคหะจัดตั้งชุมชนใหม่ สร้างถนน น้ำประปา ไฟฟ้า อาคารพานิช ชุมชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง  สส.ลงสลัม  คนในพื้นที่ เป็น สข. สก. องค์กร เอ็นจีโอ .สนับสนุนชุมชนนำความคิด    
  • ปี 2529  ทำโครงการเขตปลอดยาเสพติด   กิจกรรมเยาวชนเฟื่องฟู  สร้างสนามกีฬากลาง ต้านยาเสพติด
  • ปี 2526  ร่วมเครือช่ายชุมชนแออัด  รณรงค์เลือกตั้ง ชูคำชวัญ  “บริการน้ำไฟ ไม่ไล่ที่   มีทะเบียนบ้าน คือความต้องการสลัม”
  • ปี 2534  ปฎิวัติ  รสช.  มีผลกระทบต่อบทบาทการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของชุมชน  สารเคมีในท่าเรือระเบิด ไฟไหม้ชุมชน มีคนเสียชีวิต นำสู่การเรียกร้อง  ศาลสั่งให้ท่าเรือชดเชยค่าเสียหายให้ชาวบ้าน

ยุค 4  (2535-2544)    การพัฒนาถดถอย  ยาเสพติดระบาดหนัก

  • ปี 2534  เกิดรัฐประหาร รสช.สารเคมีระเบิด ยุบสนามกีฬาเป็นที่อยู่ชั่วคราว  ชาวคลองเตยเข้าร่วมในเหตุการณ์  “พฤษภาทมิฬ”  กลุ่มผู้นำเติบโต แบ่งขั้ว  สมาพันธ์ฯ หมดสถานะตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์  
  • กทม.ยุค ดร.พิจิต  ส่งเสริมชุมชน  ลานกีฬา   ตั้งประชาคม  จัดตั้ง “สถาบันการพัฒนาพื้นฐาน” อยู่ในสังกัดมูลนิธดวงประทีป  ยาเสพติดระบาดหนัก  ผู้ค้ายาฯ มีอิทธิพล   ไล่รื้อล็อก 7-12  จัดตั้ง “โครงการบ้านมั่นคงโรงหมู”

ยุค 5 (2545- ปัจจุบัน)  สงครามสู้ยาเสพติด  การไล่รื้อครั้งสุดท้าย

  • พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี  ส่ง พล.ต.ท.นพดล  สมบูรณ์ทรัพย์  นำกำลัง ตชด.กวาดล้างยาเสพติดคลองเตย  กลุ่มพัฒนาเริ่มฟื้นตัว  ตั้งเครือข่ายเรียนรู้คลองเตย  รวบรวมประวัติศาสตร์  นายกทักษิณ ให้ท่าเรือใช้ที่ดินเพื่อเศรษฐกิจ  จัดทำแผนคลองเตยคอมเพล็ก  เตรียมรื้อย้ายใหญ่
  • 2548  ผู้นำชุมชนประสานงานกันใหม่   จัดตั้งออมทรัพย์  พัฒนางานฝึกอบรมขยายตัว  ตั้งวิทยาลัยชุมชนคลองเตย สังกัด กทม.
  • 2549 – 2551 เกิดความขัดแย้งการเมือง เสื้อเหลือง-เสื้อแดง  ชาวคลองเตยเข้าร่วมปรากฏตัวทั้งสองฝ่าย  แต่ภายในไม่ขัดแย้งกันเอง
  • 2550 – 2551  ท่าเรือเริ่มแผนไล่รื้อ  ให้เอกชนเช่าช่วง แฟลต 1-10 ชุมชนเจ็ดสิบไร่ กำหนดไล่รื้อชุมชนพัฒนาใหม่  เปลี่ยนผู้เช้าตลาดคลองเตย ชุมนุมประท้วง ปาระเบิด
  • 2551  จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนคลองเตย  ยกฐานะ สถาบันการพัฒนาพื้นฐาน เป็น มูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน มีสำนักงานอยู่ในชุมชนคลองเตย
  • 2 ก.พ.2553  การท่าเรือแถลงโครงการ 30 ปี  ปรับใช้ที่ดินสองพันไร่ พัฒนาคอมเพล็กซ์ เพื่อการท่องเที่ยว   ไล่รื้อชุมชนทั้งหมด ให้ขึ้นอาศัยในแฟลต 12 ชั้น   การรื้อย้ายชุมขนเสร็จใน 10 ปี

ชุมชนคลองเตยในสายตาของคนนอก

ภาพที่คนภายนอกมองกลับมายังชุมชนคลองเตย เต็มไปด้วยมุมมองและคติด้านลบจากการได้ฟังข่าวและเสียงล่ำลือ ไม่ว่าจะเป็น อาชญากรรม ยาเสพติด ความรุนแรง ทะเลาะวิวาท การไร้การศึกษา อัคคีภัย แหล่งเสื่อมโทรมเต็มไปด้วยปัญหามากมาย ทว่าเมื่อได้เข้าไปสัมผัสและทำความรู้จักกับคนที่นี่ ภาพคลองเตยที่เคยวาดไว้กลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่หลาย ๆ คนคิด คนในชุมชนคลองเตยเป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส ที่นี่มีทั้งคนดี และคนไม่ดี รวมถึงมีปัญหาเช่นเดียวกับชุมชนอื่น ๆ

สรุป

สำหรับเหตุการณ์เพลิงไหม้ เมื่อเย็นเมื่อวานที่ผ่านมาคงไม่มีใครอยากให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ทางแอดเองก็ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยผ่านหตุกาณ์เสียหายครั้งนี้ไปได้ และแอดก็เชื่อว่าเรื่องราวของ ชุมชนแออัดคลองเตย ที่ได้พาทุกท่านไปรู้จักในครั้งนี้จะชี้ให้ทุกท่านมองชุมชนแห่งนี้ใหม่ ว่าที่นี่ก็ยังมีมุมดู ๆ ให้เราได้ไปรู้จัก อย่างไรก็ตามหากคอหวยท่านใดยังไม่มีเลขเด็ดในดวงใจในการซื้อหวยงวดถัดไป 1 สิงหาคม 2563 ก็ลองนำเลขปีพ.ศ. 2500 ที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐาน วันเวลาในการเกิดเหตุคือ เวลา 18.37 วันที่ 21 หรือเลขอื่น ๆ ตามข้อมูลด้านบนที่แอดให้มาก็ไม่เสียหายอะไร ก่อนลากันไปขอขอบคุณข้อมูลวิวัฒนาการและการเปลี่ยนเเปลงชุมชนคลองเตยจากเว็บไซต์ www.gotoknow.org และภาพจาก www.kobkid.com readthecloud.co www.naewna.com สุดท้ายนี้ให้ทุกท่านโชคดีและมีความสุขแม้กับเรื่องเล็ก ๆ ในชีวิตท่านเอง

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
Share on pinterest
Pinterest
Share on vk
VK

Top ฮิตติดกระแส

มาใหม่วันนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ