ศาลหลักเมือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นชินและรู้จัก ศาลหลักเมือง ประจำจังหวัด หรือศาลหลักเมือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ของคนไทยทั่วประเทศเป็นอย่างดี บางท่านอาจจะได้ไปสักการะและขอพรตั้งแต่ยังเป็นหนูเล็กเด็กแดง จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทว่าศาลหลักเมืองนั้นมีที่มาและความสำคัญอย่างไร วันนี้เราจะได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

ความสำคัญของศาลหลักเมือง

ตามประเพณีไทยโบราณ เมื่อมีการสร้างบ้าน สร้างเมืองขึ้นที่ใดใหม่ จะต้องมีการฝังเสาหลักเมืองในชัยภูมิที่สำคัญและตามฤกษ์งามยามดี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น ศาลหลักเมือง จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองและเป็นที่สถิตของเทพยดาผู้พิทักษ์เมือง เรียกว่า พระเสื้อเมืองพระทรงเมือง  ที่ปลายเสาหลักเมืองจะบรรจุดวงชะตาเมืองและเทวรูปที่เรียกกันว่า เจ้าพ่อหลักเมือง และมีพิธีประกาศอัญเชิญเทพเจ้าเข้าประดิษฐานในเทวรูปด้วย เพื่อให้ช่วยคุ้มครองป้องกันสรรพไพรีไม่ให้มาย่ำยีพระนครและพระราชอาณาจักร  ส่วนด้านทิศเหนือของศาลก็เป็นที่ประดิษฐานเทพารักษ์ทั้งห้า คือ เจ้าพ่อหอกลอง  เจ้าพ่อเจตคุปต์  พระเสื้อเมือง  พระทรงเมือง  และพระกาฬไชยศรี  ศาลหลักเมืองจึงเป็นสถานที่สิงสถิตของเทพเจ้าผู้มีมเหศักดิ์ คอยดูแลปกป้อง คุ้มครองบ้านเมืองและประชาชน

ศาลหลักเมืองในประเทศไทยส่วนใหญ่ทำจากไม้มงคล เช่น ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ ลักษณะเสาเป็นปลายยอดเป็นดอกบัวตูม หรือหน้าเทวดา หรืออาจเป็นหลักหินโบราณ ใบเสมาโบราณ ที่พบในพื้นที่นั้นๆ ตัวศาลส่วนใหญ่เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย มีประตูทั้งสี่ด้าน ยอดอาจเป็นแบบปรางค์ แบบปราสาท แบบมณฑป หรือเป็นศาลเจ้าแบบจีน

สถานที่ตั้งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า อาจเป็นตัวจังหวัด หน้าศาลากลางจังหวัด ในประเทศไทยจังหวัดส่วนใหญ่มีศาลหลักเมือง บางอำเภอก็มีศาลหลักเมือง ซึ่งยังคงเรียกว่า ศาลหลักเมือง เนื่องจากบางอำเภอก็เป็นเมืองเก่า ก่อนถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอในปัจจุบัน ตามชุมชนเล็กๆ อื่นๆ ก็อาจมีศาลประจำชุมชนเหมือนกัน แต่จะเรียกเป็นศาลหรือเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน ชุมชน

ความเชื่อเรื่องศาลหลักเมือง

มีความเชื่อเรื่องเสาหลักเมืองแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ตามตำนานฝังเสาหลักเมืองโบราณ เล่ากันว่าเมื่อมีการสร้างเสาหลักเมืองจะต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ คือพิธีฝังเสาหลักเมือง ด้วยการจับคน 4 คนฝังลง แล้วไปในหลุมทั้งเป็น เพื่อให้วิญญาณของคนเหล่านั้นอยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าประตูเมือง เฝ้าปราสาท คอยคุ้มครองบ้านเมือง ป้องกันศัตรูและปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บมิให้เกิดแก่คนในเมืองนั้น นอกจากนี้

เครื่องบูชาสักการะศาลหลักเมือง

เครื่องบูชาสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองมีดังต่อไปนี้

  • ธูป 3 ดอก
  • เทียน 1 เล่ม
  • ทองคำเปลว /ทองคำแผ่น
  • ดอกบัว 2 ดอก
  • พวงมาลัย 2 พวง
  • ผ้าแพร 3 สี

**การไหว้สักการะศาลหลักเมืองแต่ละจังหวัดมีเครื่องสักการะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่ตามความเหมาะสม

วิธีการไหว้ศาลหลักเมือง

เมื่อได้เครื่องสักการะมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ไหว้ตามขั้นตอนตามลำดับต่อไปนี้

อันดับแรกให้ไหว้พระที่หอพระพุทธรูป ถวายดอกบัว แล้วทำการปิดทอง ตามความเชื่อ ถือว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นสถิตอยู่สูงสุด หลักสักการะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ไปผูกผ้าแพรทั้ง 3 สี ที่องค์พระหลักเมืองจำลองโดยให้ผูกรวมกันทั้ง 3 ผืนโดยไม่ต้องแยก และนำพวงมาลัยไปถวายพระหลักเมืององค์จริง ต่อด้วยถวายพวงมาลัยแก่องค์เทพารักษ์ทั้ง 5 พร้อมเติมน้ำมันตะเกียงพระประจำวันเกิด

สุดท้ายให้อธิษฐานขอพรและท่องคาถาบูชาองค์พระหลักเมือง ภายในศาลหลักเมืองจะมีการ “ยกพระเสี่ยงทาย” ให้อธิษฐานถึงสิ่งที่หวัง ยกพระเสี่ยงทาย 2 ครั้ง ครั้งแรกตั้งจิตมั่นว่าถ้าทำสำเร็จ ขอให้ยกพระขึ้น ครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็นถ้าสำเร็จ ขอให้ยกพระไม่ขึ้น ตามความเชื่อ หากเป็นไปตามที่อธิษฐานทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่าสิ่งที่ขอไว้จะสำเร็จตามปรารถนา

คาถาบูชาองค์พระหลักเมือง

ศาลหลักเมือง

(ท่องนะโม 3 จบ) ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลักเมืองเทวานัง พระภูมิเทวานัง ทีปธูปจะบุปผัง สักการะวันทนัง สูปพยัญชนะ สัมปันนัง สารีนัง อุททะกัง วะรัง เตปิตุม เห อานุรักษ์ขันตุ อาโรขเยนะ สุเขนะจะ

เรื่องที่นิยมขอพรกับศาลหลักเมือง

ผู้คนส่วนใหญ่ที่มาไหว้ศาลหลักเมืองนิยม ขอพร เรื่องความมั่นคงทางหน้าที่การงาน การเงิน ค้าขาย ชีวิตความเป็นอยู่ให้เจริญรุ่งเรือง โดยมากผู้คนมักจะไปไหว้ศาลหลักเมืองในช่วงปีใหม่ ถือโอกาสเอาฤกษ์เอาชัย  เชื่อกันว่าหากมาไหว้ศาลหลักเมือง จะช่วยในการตัดเคราะห์ ต่อดวงชะตา  พร้อมทั้งเสริมบารมี อย่างไรก็ตามการที่จะประสบความสำเร็จและสมหวังตามคำอธิษฐานก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและความพยายามของตนเองด้วย

5 ศาลหลักเมืองยอดฮิตในไทย

ส่วนใหญ่แล้วจังหวัดในประเทศไทย มักมีศาลหลักเมืองประจำจังหวัดนั้น ๆ ทว่าบางจังหวัดก็ไม่มี แต่มีศาลที่เปรียบเสมือนศาลหลักเมือง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ส่วนศาลหลักเมืองที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ เป็นศาลหลักเมืองที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

1. ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 ตั้งอยู่เยื้องกับวัดพระแก้ว ข้างกระทรวงกลาโหม ไม่ว่าใครที่มาเที่ยวที่มหานครแห่งนี้ต่างก็มาสักการะและอธิษฐานขอพร

2. ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่บริเวณวัดพระแก้ว ปากทางเข้าโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ถนนสายกำแพงเพชร-สุโขทัย มีอายุเก่าแก่กว่า ๗๐๐ ปี เชื่อกันว่าพระเจ้าวรมันต์(เหม่) ผู้เรืองอำนาจเป็นผู้ก่อสร้างขึ้นผ่านหน้าศาล ชาวเมืองกำแพงเพชรและประชาชนทั่วไปให้ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาอย่างมากและเป็นที่กล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์

3. ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช

ศาลหลักเมืองคู่บ้านคู่เมืองเมืองคอน ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง มีอาคารทั้งหมด 4 หลัง ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายศิลปะศรีวิชัย เรียกว่า ทรงเหมราชลีลา ส่วนอาคารเล็กทั้งสี่หลัง ถือเป็นบริวารสี่ทิศ เรียกว่า ศาลจตุโลกเทพองค์ เสาหลักทำด้วยไม้ตะเคียนทอง ส่วนบนช่องเสาเป็นรูปจตุคามรามเทพ (4พักต์)

 4. ศาลหลักเมืองจังหวัดเชียงใหม่ หรือเสาอินทขีล

ศาลหลักเมืองจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นสมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช (พญามังรายมหาราช)  “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” มีลักษณะเป็นมณฑปจตุรมุขวิหาร ศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยปกติแล้วจะเปิดให้

5. ศาลหลักเมืองภูเก็ต

เสาหลักเมืองของจังหวัดภูเก็ตนั้นมีทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ เสาหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมือถลาง-ป่าสัก เสาหลักเมืองเลพัง และเสาหลักเมืองท่าเรือ วิญญาณที่สิงสถิตเป็นผู้หญิงทั้งหมด สร้างขึ้นจากไม้ตำเสาซึ่งเป็นไม้ที่แข็งแกร่งที่สุด เชื่อกันว่าหากใครทำมาค้าขอยติดขัด หรืออยากได้ตำแหน่งงานดี ๆ ในภูเก็ตให้ไปขอกับศาลหลักเมืองทั้ง 4 แห่งจะได้ดังปรารถนา

สรุป

ผู้คนส่วนใหญ่นิยมไปไหว้ขอพรกับศาลหลักเมืองในเรื่องหน้าที่งาน การเงิน ค้าขาย และความเป็นอยู่ให้ชีวิตเจริญรุงเรือง ยิ่ง ๆ ขึ้นไป วิธีการกราบไหว้ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน เพียงเตรียมเครื่องสักการะ ได้แก่ ธูป เทียน ดอกบัว ทองคำเปลวหรือทองคำแผ่น พวงมาลัย และผ้า 3 สี แล้วปฏิบัติตามขั้นตอนการไหว้ที่เรากล่าวไว้ก่อนหน้านี้ เพียงเท่านั้นการขอพรของท่านก็ถือว่าได้ผลมาแล้วครึ่งทาง ส่วนที่เหลือก็สุดแล้วแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่านจะบันดาล แต่เหนือสิ่งอื่นใดเราในฐานะผู้ขอพรก็ต้องลงมือลงแรงและเพียรพยายามด้วยเช่นกัน พรนั้นจึงจะสัมฤทธิ์ผล

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก 6 วิธี ไหว้ศาลหลักเมือง ไหว้ยังไง ให้งานรุ่ง

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
Share on pinterest
Pinterest
Share on vk
VK

Top ฮิตติดกระแส

มาใหม่วันนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ