การตีระฆัง

หนุนดวงชีวิต เพิ่มพลังความปังด้วยการตีระฆัง

เคยสงสัยไหมว่า… ทำไมไปวัดต้องตีระฆัง?! ทำไมไปไหว้พระธาตุออกมาต้องตีระฆังด้วย!? แล้วทำไมเสียงกล้องและเสียงระฆังถึงดังมาจากวัดดีจริง ๆ เลยเวลาเช้ามืดกับตอนเย็น ๆ เนี่ย!!! ทำไมนะทำไม??!! วันนี้คำถามเหล่านั้นจะหมดไป Ruay จะไขปริศนาธรรม เอ้ยย ไขข้อสงสัยที่ทุกคนยังไม่รู้คำตอบ ด้วยนี่!!! ความเชื่อเรื่อง การตีระฆัง ตีแล้วจะเพิ่มพลังชีวิต หนุนดวงเราให้ไปทางไหนได้บ้างนะ ลองไปดูกัน

ขอบคุณภาพจาก Palanla

ในพระไตรปิฎกมีคำว่า “กังสดาล” ปรากฎในโกณฑธานเถรวัตถุ หมายถึง “เสียงตีระฆัง” ที่พระพุทธองค์ทรงเปรียบเปรยว่าเป็น สัญญาณแห่งการชนะกิเลส และการบรรลุธรรม ดังนั้น การตีระฆังหรือกังสะดาลในทางพระพุทธศาสนา จึงหมายถึง สัญญาณแห่งชัยชนะต่อกิเลสที่ เกิดขึ้นจากการทำวัตร ปฏิบัติ สวดมนต์ เดินจงกรมและการ บิณฑบาต

วัตถุประสงฆ์ของ การตีระฆัง ที่ปรากฎในพระไตรปิฎก อรรถกถาต่างๆ ดังนี้

  • 1. ในอรรถกถาวินีตวัตถุ อุทานคาถา เพื่อบอกให้พระภิกษุสงฆ์มารับการแบ่งสิ่งของ
  • 2. ในอรรถกถาสัมพหุลสูตร เพื่อแจ้งให้ พระภิกษุสงฆ์มารวมตัวกัน เพื่อบูรณะบำรุงปฏิบัติกวาดศาสนสถาน
  • 3. ในอรรถกถาขัชชนิยสูตร เพื่อแจ้งพระภิกษุสงฆ์ว่าถึงเวลาเดินจงกรม

การตีระฆัง ของพระภิกษุสงฆ์ในอดีต

ท้าวความไปถึงสมัยบ้านเมืองของยังเจริญ เทคโนโลยียังไม่พัฒนาเหมือนปัจจุบัน นาฬิกาที่ทุกคนมีดาษดื่นกันอยู่ตอนนี้ สมัยก่อนมีเฉพาะตามวัดวารามเท่านั้น ดังนั้นพระภิกษุท่านจะใช้การตีกลอง ฆ้อง ระฆัง เพื่อเป็นสัญญาณแจ้งให้ชาวบ้านในละแวกนั้นทราบว่า ณ ขณะนั้นเป็นเวลากี่โมงเป็นระยะ เพื่อบอกเวลาให้ชาวบ้านได้รับรู้

การตีระฆัง ของพระภิกษุสงฆ์ ในช่วงเวลาต่าง ๆ

หลายครั้งที่เรามักจะได้ยินเสียงกลอง เสียงระฆังดังมาจากวัดเป็นประจำ เช้าบ้าง เที่ยงบ้าง เย็นบ้าง และจังหวะการตีของแต่ละครั้งก็ไม่เหมือนกัน บางครั้งก็นาน บางครั้งก็แป๊ป ๆ จบ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ามีความหมายที่ซ่อนอยู่ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้

  • เวลา 04:00-04:30 น. จะตี 3 ลา นาน 30 นาที เพื่อปลุกพระภิกษุให้ตื่นจากการจำวัด และลงไปรวมตัวทำวัตร สวดมนต์ช่วงเช้ามืด นอกจากนี้ยังเป็นการส่งสัญญาณให้ชาวบ้านลุกขึ้นมาเตรียมอาหารใส่บาตรอีกด้วย
  • เวลา 08:00 น. เพื่อส่งสัญญาณให้พระภิกษุลงมารวมตัวทำวัตรเช้า
ขอบคุณภาพจาก watthailumbini
  • เวลา 11:00 น. ตีกลองเพล โดยใช้ไม้เดียว 3 ลา จากช้าไปเร็วสุด จบด้วยการตี 3 ครั้ง เพื่อบอกเวลาฉันเพลของพระภิกษุ
  • เวลา 16:00 น. เพื่อส่งสัญญาณให้พระลงประชุมทำวัตรเย็น โดยจะตี 3 ลา ใช้เวลาตีไม่เกิน 10-15 นาที ซึ่งจะน้อยกว่าตอนเช้า 15 นาที เนื่องจากตอนเช้ามืดพระภิกษุท่านยังมีอาการง่วง อ่อนเพลีย ก็อาจจะยังนอนเพลินไป เกรงว่าจะไม่ได้ลุกขึ้นทำวัตรช่วงเช้ามืด

การตีระฆัง ของพระสงฆ์ กรณีพิเศษ

นอกจากการการตีระฆังเป็นเวลาจากที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว ยังมีการตีระฆังในกรณีพิเศษอีก 2 กรณี ได้แก่

  • กรณีที่ 1 ตีเมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้นในวัด เช่น ไฟไหม้ โจรปล้น พระภิกษุมรณภาพ หรือต้องอาบัติหนักถึงขั้นปาราชิก โดยจะเป็นการตีรัวทั้งกลองและระฆัง เมื่อชาวบ้านได้ยินก็จะรีบออกไปที่วัดทันที
  • กรณีที่ 2. ตีเมื่อเกิดจันทรคราสและสุริยคราส ก็จะตีกลองระฆัง แต่ใช้การตีแบบจังหวะย่ำหรือลีลาย่ำค่ำ จนกว่าจันทรคราสและสุริยคราสจะคลาย ส่วนชาวบ้านก็จะตีปี๊บ ตีเกราะ เคาะไม้ เพื่อให้พระราหูคลายจากการอมพระอาทิตย์ พระจันทร์

ไปวัดทำไมต้องตีระฆัง ?

ความเชื่อของชาวพุทธเกี่ยวกับการตีระฆังนั้นมีหลากหลายด้วยกัน ดังนี้

  • เชื่อว่า…. ถ้าได้ตีระฆังรอบพระบรมธาตุจะเป็นมงคลต่อตนเอง  เป็นการประกาศให้เทวดาอารักษณ์ เจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้รับทราบว่าตัวเราได้มามานมัสการพระบรมธาตุแล้ว เพื่อให้ท่านอนุโมทนาต่อบุญกุศล
  • เชื่อว่า…. การเคาะหรือตีระฆัง เป็นการถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องจากเสียงระฆังมีความดังกังวาล เสมือนพระคณุของพระรัตนตรัยที่แผ่กังวานไปทั่วจักรวาล แล้วยิ่งถ้าได้ถวายระฆังเป็นพุทธบูชา อานิสงส์ส่งผลให้ชาติหน้า เป็นผู้ที่มีเกียรติยศชื่อเสียงขจรไปทั่วสี่ทิศ
  • เชื่อว่า….การได้มาไหว้พระบรมธาตุแล้วได้เคาะระฆัง จะทำให้เขาผู้นั้นกลับมาเยือน ณ ดินแดนแห่งนี้อีกครั้งหนึ่งในอนาคต
ขอบคุณภาพจาก Youtube

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า… ชาวพุทธส่วนมากนั้น ตีระฆัง เพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นสิริมงคลกับตนเอง ปรารถนาให้ชื่อเสียง ลายศของตนเองนั้นโด่งดัง เหมือนเสียงระฆังที่ดังกังวาลไปทั่วทิศนั่นเอง

ส่วนที่พูดกันว่าต้องตีแรงๆ หนักๆ เพื่อที่เสียงจะได้ดังกังวาล อันนี้เป็นความเชื่อที่ผิด จริง ๆ แล้วไม่จำเป็นต้องตีหนักหรือแรงขนาดนั้น เอาแต่พอดี เพราะจะกลายเป็นว่า ฆ้อง ระฆัง หรือไม้ที่ตีนั้นจะชำรุดและพังได้

สรุปส่งท้าย ความเชื่อเรื่องการตีระฆัง

การตีระฆังนั้น ปรากฏมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแทนด้วยคำว่า “กังสดาล” หมายถึง “เสียงตีระฆัง” ที่พระพุทธองค์ทรงเปรียบเปรยว่าเป็น สัญญาณแห่งการชนะกิเลส และการบรรลุธรรม ดังนั้น การตีระฆังหรือกังสะดาลในทางพระพุทธศาสนา จึงหมายถึง สัญญาณแห่งชัยชนะต่อกิเลสที่ เกิดขึ้นจากการทำวัตร ปฏิบัติ สวดมนต์ เดินจงกรมและการ บิณฑบาต ทว่าในพุทธส่วนมากนั้น ตีระฆัง เพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นสิริมงคลกับตนเอง ปรารถนาให้ชื่อเสียง ลายศของตนเองนั้นโด่งดัง เหมือนเสียงระฆังที่ดังกังวาลไปทั่วทิศนั่นเอง

ก่อนจากกันไปขอทิ้งท้าย… ถ้าแฟนคลับเว็บ Ruay ท่านไหนอยากอ่านบทความดี ๆ และน่าสนใจนอกเหนือจากนี้ เช่น ทำนายฝัน ดูดวง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ทริคเสริมดวงชะตา รวมถึงแนวทางหวย ที่เว็บ Ruay 365 และเฟสบุ๊คแฟนเพจ รวยดี มีบทความดี ๆ รอให้ท่านกดเข้าไปอ่านอีกเพียบเลย

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
Share on pinterest
Pinterest
Share on vk
VK

Top ฮิตติดกระแส

มาใหม่วันนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ